พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
ท่ากระดาน กรุวั...
ท่ากระดาน กรุวัดเทวะสังฆาราม ที่4 งานสมาคมฯ
พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกจัดอยู่ในเบญจภาคีพระชุดยอดขุนพลเนื้อชิน พระกรุนี้มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายหนตามกรุต่างๆ ทั้งที่ตัวตำบลท่ากระดานเอง และพบในครั้งหลังตามกรุต่างๆ ในตัวจังหวัดด้วย ทำไมพระท่ากระดานจึงมีการพบที่ตัวจังหวัดด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงต้นกำเนิดและพระที่พบในตัวจังหวัดกันครับ
พระท่ากระดานนั้นในสมัยก่อนที่มีการพบพระครั้งแรกๆ นั้น เขาจะเรียกกันว่า "พระเกศปิดตาแดง" เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่มีพระเกศบิดคดงอ และเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง จึงเรียกกันตามลักษณะของพระที่พบไปตามนั้น ต่อมามีความนิยมเสาะหาพระท่ากระดานกันมากเนื่องจากพุทธคุณของพระท่ากระดาน นั้นมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและมหาอุด ผู้ที่มีพระท่ากระดานติดตัวไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายเพราะศัสตราวุธเลย
แหล่งที่พบพระท่ากระดานในครั้งแรกๆ นั้นพบอยู่ที่วัดร้างในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และสถานที่แห่งนี้เองเป็นแหล่งกำเนิดพระท่ากระดาน ต่อมาจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระท่ากระดาน" ตามตำบลที่พบ การขุดหาพระท่ากระดานนั้นได้มีคนขุดพบพระท่ากระดานกันมานานแล้ว และขุดพบกันต่อมาเรื่อยๆ ส่วนมากได้กันครั้งละไม่กี่องค์ พบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัดร้างทั้ง 4 วัด คือวัดบน วัดกลาง วัดล่าง และวัดต้นโพธิ์ ต่อมาพบที่ถ้ำใกล้ๆ นั้นอีกคือที่ถ้ำลั่นทม ต่อมาได้มีการขุดหาอย่างจริงจังที่ตำบลท่ากระดานอีกในปี พ.ศ.2495-2496 พระที่พบในตำบลท่ากระดานนี้จะเรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุเก่า" และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทม ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม"พระที่พบเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงทั้งหมด บางองค์จะมีการปิดทองมาแต่ในกรุ พระส่วนใหญ่จะมีสนิมไขขาวคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
ต่อมามีการพบพระท่ากระดานที่ตัวจังหวัดอีก 3 วัดคือ
ในปี พ.ศ.2497 ที่วัดหนองบัว หลวงปู่เหรียญได้ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เพราะมีความชำรุดทรุดโทรมมาก ขณะที่ช่างก่อสร้างกำลังซ่อมพระอุโบสถหลังเก่าอยู่นั้น ปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานรวมทั้งสิ้น 93 องค์ และพระสกุลท่ากระดานอีก 21 องค์ รวมทั้งยังได้พบพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่ยิ้มสร้างไว้อีกหลายองค์ พระเครื่องเหล่านี้พบอยู่ในไหโบราณ ที่อยู่บนเพดานพระอุโบสถด้านหลังพระประธาน
ในปี พ.ศ.2506 ได้พบพระท่ากระดานอีกที่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) สมัยหลวงพ่อดี เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทางวัดได้มีการเจาะพระเจดีย์องค์ประธาน ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหาร เพื่อบรรจุพระพุทธ 25 ศตวรรษ ซึ่งเป็นพระที่ทางราชการมอบมาให้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ขณะที่คนงานกำลังเจาะลึกลงไปได้ประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายที่บรรจุอยู่ทะลักพรูออกมาเป็นอันมาก เมื่อโกยทรายออกมาจนหมดจึงพบไหโบราณเคลือบสีดำ ภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระเครื่องต่างๆ ฝังเรี่ยราดอยู่เป็นอันมาก พระที่พบมีพระท่ากระดาน 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้วสองพิมพ์คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย เนื้อชินสนิมแดง 200 องค์ พระโคนสมอ 200 องค์ พระมารวิชัยสะดุ้งกลับ 20 องค์ พระแบบทวารวดี 2 องค์ พระชัยวัฒน์ 10 องค์ และพระท้าวชมภูฯ 2 องค์
ในปี พ.ศ.2507 พบพระท่ากระดานอีกที่วัดท่าเสา ได้มีการขุดพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งได้พระท่ากระดานออกมาจำนวนหนึ่ง และได้พระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนมาก เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด จำนวนของพระทั้งสองชนิดไม่ได้มีการบันทึกไว้
พระท่ากระดานที่พบใน 3 ครั้งหลังนี้เรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุใหม่" พระกรุใหม่ที่พบนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระกรุเก่า เนื้อหาก็เป็นแบบเดียวกันทุกประการ การพบในครั้งหลังนี้พบพร้อมกับพระชนิดอื่นๆ ปะปนกันอยู่ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระท่ากระดานถูกนำมาจากที่กรุเก่าแล้วบรรจุรวมไว้กับพระ ชนิดอื่นๆ คงมีผู้นำมาถวายเพื่อนำไปบรรจุไว้ภายหลัง แต่นำมาบรรจุไว้ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด
และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด"สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม
ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า"พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสี เปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์ที่เป็นพระแท้อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญ
สำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง""พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดนักพระเครื่อง มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่าง ชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือ ตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม การพิจารณาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ เป็นสำคัญ
พระท่ากระดาน มีพุทธศิลปะแบบสกุลช่างอู่ทองหน้าแก่ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และโชคลาภ
ผู้เข้าชม
7104 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
เปิดโลกกรุเตาทุเรียง สุโขทัย
หลวงพ่อโต ปางสมาธิ มีชาดแดงๆ ต
พระยอดขุนพลเตาทุเรียง พิมพ์กลา
ชินราชใบเสมาพิมพ์กลาง วัดใหญ่
นางกำแพงตัดกรุหัวเขาหน้าตาชัด
พระท่ากระดานหูช้าง วัดเทวสังฆา
นางกำแพงพิมพ์ตื้น ชินเงิน กรุค
พระเจ้าสิบชาติ ปางมารวิชัยพิมพ
พระกำแพงห้าร้อยตัดหก กรุวัดเชิ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Erawan
โก้ สมุทรปราการ
หมอเสกโคราช
kaew กจ.
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
นานา
อ้วนโนนสูง
ภูมิ IR
Beerchang พระเครื่อง
varavet
เจนพระเครือง
โกหมู
Le29Amulet
KoonThong_Amulets
เจริญสุข
นรินทร์ ทัพไทย
termboon
ยิ้มสยาม573
someman
Paphon07
พีพีพระเครื่อง
chathanumaan
Achi
somphop
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1202 คน
เพิ่มข้อมูล
ท่ากระดาน กรุวัดเทวะสังฆาราม ที่4 งานสมาคมฯ
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
ท่ากระดาน กรุวัดเทวะสังฆาราม ที่4 งานสมาคมฯ
รายละเอียด
พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกจัดอยู่ในเบญจภาคีพระชุดยอดขุนพลเนื้อชิน พระกรุนี้มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายหนตามกรุต่างๆ ทั้งที่ตัวตำบลท่ากระดานเอง และพบในครั้งหลังตามกรุต่างๆ ในตัวจังหวัดด้วย ทำไมพระท่ากระดานจึงมีการพบที่ตัวจังหวัดด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงต้นกำเนิดและพระที่พบในตัวจังหวัดกันครับ
พระท่ากระดานนั้นในสมัยก่อนที่มีการพบพระครั้งแรกๆ นั้น เขาจะเรียกกันว่า "พระเกศปิดตาแดง" เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่มีพระเกศบิดคดงอ และเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง จึงเรียกกันตามลักษณะของพระที่พบไปตามนั้น ต่อมามีความนิยมเสาะหาพระท่ากระดานกันมากเนื่องจากพุทธคุณของพระท่ากระดาน นั้นมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและมหาอุด ผู้ที่มีพระท่ากระดานติดตัวไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายเพราะศัสตราวุธเลย
แหล่งที่พบพระท่ากระดานในครั้งแรกๆ นั้นพบอยู่ที่วัดร้างในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และสถานที่แห่งนี้เองเป็นแหล่งกำเนิดพระท่ากระดาน ต่อมาจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระท่ากระดาน" ตามตำบลที่พบ การขุดหาพระท่ากระดานนั้นได้มีคนขุดพบพระท่ากระดานกันมานานแล้ว และขุดพบกันต่อมาเรื่อยๆ ส่วนมากได้กันครั้งละไม่กี่องค์ พบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัดร้างทั้ง 4 วัด คือวัดบน วัดกลาง วัดล่าง และวัดต้นโพธิ์ ต่อมาพบที่ถ้ำใกล้ๆ นั้นอีกคือที่ถ้ำลั่นทม ต่อมาได้มีการขุดหาอย่างจริงจังที่ตำบลท่ากระดานอีกในปี พ.ศ.2495-2496 พระที่พบในตำบลท่ากระดานนี้จะเรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุเก่า" และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทม ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม"พระที่พบเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงทั้งหมด บางองค์จะมีการปิดทองมาแต่ในกรุ พระส่วนใหญ่จะมีสนิมไขขาวคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
ต่อมามีการพบพระท่ากระดานที่ตัวจังหวัดอีก 3 วัดคือ
ในปี พ.ศ.2497 ที่วัดหนองบัว หลวงปู่เหรียญได้ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เพราะมีความชำรุดทรุดโทรมมาก ขณะที่ช่างก่อสร้างกำลังซ่อมพระอุโบสถหลังเก่าอยู่นั้น ปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานรวมทั้งสิ้น 93 องค์ และพระสกุลท่ากระดานอีก 21 องค์ รวมทั้งยังได้พบพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่ยิ้มสร้างไว้อีกหลายองค์ พระเครื่องเหล่านี้พบอยู่ในไหโบราณ ที่อยู่บนเพดานพระอุโบสถด้านหลังพระประธาน
ในปี พ.ศ.2506 ได้พบพระท่ากระดานอีกที่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) สมัยหลวงพ่อดี เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทางวัดได้มีการเจาะพระเจดีย์องค์ประธาน ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหาร เพื่อบรรจุพระพุทธ 25 ศตวรรษ ซึ่งเป็นพระที่ทางราชการมอบมาให้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ขณะที่คนงานกำลังเจาะลึกลงไปได้ประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายที่บรรจุอยู่ทะลักพรูออกมาเป็นอันมาก เมื่อโกยทรายออกมาจนหมดจึงพบไหโบราณเคลือบสีดำ ภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระเครื่องต่างๆ ฝังเรี่ยราดอยู่เป็นอันมาก พระที่พบมีพระท่ากระดาน 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้วสองพิมพ์คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย เนื้อชินสนิมแดง 200 องค์ พระโคนสมอ 200 องค์ พระมารวิชัยสะดุ้งกลับ 20 องค์ พระแบบทวารวดี 2 องค์ พระชัยวัฒน์ 10 องค์ และพระท้าวชมภูฯ 2 องค์
ในปี พ.ศ.2507 พบพระท่ากระดานอีกที่วัดท่าเสา ได้มีการขุดพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งได้พระท่ากระดานออกมาจำนวนหนึ่ง และได้พระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนมาก เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด จำนวนของพระทั้งสองชนิดไม่ได้มีการบันทึกไว้
พระท่ากระดานที่พบใน 3 ครั้งหลังนี้เรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุใหม่" พระกรุใหม่ที่พบนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระกรุเก่า เนื้อหาก็เป็นแบบเดียวกันทุกประการ การพบในครั้งหลังนี้พบพร้อมกับพระชนิดอื่นๆ ปะปนกันอยู่ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระท่ากระดานถูกนำมาจากที่กรุเก่าแล้วบรรจุรวมไว้กับพระ ชนิดอื่นๆ คงมีผู้นำมาถวายเพื่อนำไปบรรจุไว้ภายหลัง แต่นำมาบรรจุไว้ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด
และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด"สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม
ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า"พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสี เปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์ที่เป็นพระแท้อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญ
สำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง""พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดนักพระเครื่อง มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่าง ชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือ ตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม การพิจารณาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ เป็นสำคัญ
พระท่ากระดาน มีพุทธศิลปะแบบสกุลช่างอู่ทองหน้าแก่ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และโชคลาภ
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
7181 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี